เซียงจา หรือซานจา ชาสมุนไพรจีนบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหารลดไขมัน สรรพคุณเครื่องดื่มน้ำซานจา Hawthorn Fruit Chinese berry tea / San Zha บ๊วยแผ่นคือ ฮอว์ธอร์นเบอร์รี่จีน Fit Food
ซานจา หรือ เซียงจา เป็นพืชสมุนไพรช่วยย่อย ดีต่อระบบทางเดินอาหาร วันนี้ช่อง Fit Food มีวิธีกินผลเซียงจาในรูปแบของชา และ สรรพคุณดี ๆ มากมาย มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
สรรพคุณของเซียงจา
คนวัยทำงานที่มักมีปัญหา เรื่องระบบทางเดินอาหาร สาเหตุหลักอาจมาจากการรับประทานอาหารที่ผิดวิธี วันนี้ช่อง Fit Food ส้มโอมีเรื่องราวดี ๆ ของสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสุขภาพ เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร มาฝากกันค่ะเซียงจา เป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ถูกนำมาใช้ในการแพทย์จีนมานานแล้ว เป็นพืชพื้นเมืองของจีน พบมากทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของจีน ในมณฑลซานซี และมณฑลเหอหนาน การปลูกและผลิตชาเซียงจา ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลเหอเป่ย์ และมณฑลเหอหนาน ส่วนที่นำมาทำยา คือส่วนของผล เมื่อสุกเต็มที่ผลจะมีสีแดงหรือสีดำ มีรสหวานอมเปรี้ยว ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเบอร์รี่ มีชื่อเรียกว่า ฮอร์ธอร์น เบอร์รี่ (Hawthorn Berry), Xiangja
ขนมบ๊วยแผ่น แท้จริงคือผลเซียงจา เบอรี่จีน
นอกจากนี้ ซานจา ยังนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนม ของหวาน และอาหารที่มีรสหวานอื่น ๆ ขนมซานจาแผ่นกลมๆ แดงๆ ที่เราเคยทานกันตอนเด็ก ๆ แท้ที่จริงไม่ได้ทำมาจากบ๊วย แต่เป็นผลซานจาหรือผลเบอร์รี่ ที่มีรสเปรี้ยวจัด นำกวนกับน้ำตาลแล้วอัดให้เป็นแผ่น เรียกกันว่า บ๊วยแผ่น แต่จริง ๆ ทำจากผลเซียงจา และมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความอยากอาหารของเด็ก ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร รวมถึงการใช้ประโยชน์ในสรรพคุณทางยาในการแพทย์แผนจีน
ซานจา หรือ เซียงจา เป็นสมุนไพรช่วยย่อยอาหาร และเพิ่มศักยภาพระบบทางเดินอาหาร เป็นยาหลักในการช่วยรักษาโรค และอาการแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้ออาหารไม่ย่อย ช่วยการทำงานของกระเพาะอาหาร และลดไขมันได้ดี
ปัจจุบันซานจาถูกนำมาใช้ในการช่วยลดไขมันในเลือด อุดมไปด้วยวิตามิน A วิตามิน B วิตามิน C มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดไขมัน ซึ่งเป็นสรรพคุณใหม่ที่มีการค้นพบในภายหลัง เรียกได้ว่า เป็นสรรพคุณที่มาจากความรู้ทางแพทย์จีนดั้งเดิม นอกจากจะช่วยย่อยอาหาร โดยเฉพาะเมื่อรับประทานเนื้อมากเกินไป เมื่อร่างกายย่อยเนื้อไม่ค่อยได้ การรับประทานซานจา ก็จะช่วยย่อยได้ส่วนนึงค่ะ ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และยังช่วยลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย
สรรพคุณหลักของซานจา คือ ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ สามารถรับประทานซานจาหลังมื้ออาหารจะช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น แต่การดื่มเป็นชาก่อนอาหาร จะสามารถช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้ เมื่อไหร่ที่รู้สึกเบื่ออาหารอยากอาหารน้อยลง ให้ลองนำซานจาแห้งไปแช่ในน้ำร้อน แล้วดื่มเป็นชาก่อนมื้ออาหาร ก็จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และรับประทานอาหารได้มากขึ้นเจริญอาหารดีขึ้น
ข้อควรระวัง ในการกินเซียงจา
ข้อจำกัดของซานจา คือ ผลสุกของซานจามีรสเปรี้ยว ในตำราจีนระบุว่า ซานจาเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวที่สุดในตำรับยาจีน มีฤทธิ์ทางยาที่ช่วยย่อย และทำให้สมานแผล แต่ถ้าทานมาก อาจทำให้เกิดการท้องเสีย ผู้ที่มีกรดในกระเพาะ อาจจะต้องระวังและจำกัดปริมาณในการกิน เพราะรสเปรี้ยวอาจจะไประคายเคืองกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากนำไปคั่วให้สุก จนมีสีดำเพื่อลดความเปรี้ยวให้หมดไป จะกลับไปมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องเสีย ข่วยขับลม รักษากระเพราะลำไส้ ทำให้อุจจาระจับตัว ช่วยรักษาอาการท้องเสียได้วิธีกินเซียงจา
แบบที่ 1 ทำชาสมุนไพรน้ำเซียงจา นำซานจาแห้ง ที่ฝานจากผลเป็นแว่น ๆ 15 กรัม (10 ชิ้น) ล้างฝุ่นออก 1 รอบ แล้วใส่ลงในที่ชงชา เติมน้ำร้อน 250 ml ปิดฝาไว้ หลังจากนั้น 2 นาที เทใส่แก้ว เมื่อดื่มหมด ก็สามารถเติมน้ำร้อนได้อีก จนกว่าสีและรถจะหมดไป ชาเซียงจารสชาติกลมกล่อม อมเปรี๊ยวนิด ๆ ดื่มอุ่นสายท้อง รับประทานน้ำเซียงจา หลังอาหาร ครั้งละประมาณ 100 ml หรือประมาณ 1-2 ถ้วยชาค่ะแบบที่ 2 ถ้าเราหาผลเซียงจาไม่ได้ นำขนมเซียงจาแผ่น มาแช่ในน้ำร้อน 1 แก้ว ต่อขนม 10 แผ่น ปิดฝา แช่ไว้ 10 นาที คนให้ละลาย ก็จะได้ชาเซียงจาสีชมพู สีสวยน่าทาน ได้เหมือนกันค่ะ ดื่มอุ่น ๆ รสชาติเปรี๊ยวอมหวาน ทานง่ายได้ประโยชน์
ปริมาณที่ควรทานชาเซียงจา
สามารถดื่มอุ่น ๆ หลังอาหารได้ แต่ไม่ทานต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะหากมีการรับประทานร่วมกับ ยาจีนอื่น ๆ แนะนำให้ทุก ๆ 2 สัปดาห์ ควรหยุดพัก 1 สัปดาห์ ให้ร่างกายปรับตัวก่อน แล้วค่อยรับประทานใหม่ และการบริโภคเบอร์รี่เป็นประจำอาจทำให้ฟันผุได้
|
บ๊วยแผ่นเซียงจา ของแท้ 100% ขนาด 85 กรัม |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น