กานพลู สรรพคุณและข้อควรระวัง วิธีรับประทานกานพลูแห้ง ประโยชน์แก้ไอ กำจัดเชื้อราแบคทีเรีย แก้ปวดฟัน Clove Tea การต้มน้ําสมุนไพรโบราณด้วยหม้อต้มไฟฟ้า Cuztomo - Fit Food
ดอกกานพลูแห้ง นำมาต้มดื่มหอมอร่อย มีสรรพคุณทางยาและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ให้ความสดชื่น มีฤทธิ์ร้อนรสฝาด ทำให้ลิ้นชา และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดกลิ่นปาก วันนี้ช่อง Fit Food มีวิธีรับประทานกานพลู รวมทั้งประโยชน์ และข้อควรระวัง มาฝากกันค่ะ
กานพลู คือ ต้นไม้ที่อยู่ในแถบเอเชียอาคเนย์ ดอกกานพลูมีลักษณะเป็นดอกตูมเล็ก ๆ มีการใช้เป็นยามากว่า 3,000 ปีแล้ว มีการนำไปบดผสมกับสารที่จะใช้ในการทำมัมมี่ เพราะกานพลูมีสรรพคุณโดดเด่น คือการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดสารที่ไม่ดีซึ่งเป็นเซลล์ที่ไม่ดีในร่างกาย
ในสมัยโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ดอกกานพลูแห้งมีประโยชน์มากมาย ยาประสะทั้งหลายในสมัยนั้น ล้วนมีกาลพลูเป็นส่วนผสมทั้งหมด เพราะมีสรรพคุณช่วยลดไข้และฆ่าเชื้อโรค
การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ นำมาทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยดับกลิ่นปากได้และผสมในยาสีฟันสมุนไพรเป็นยาสีฟันกานพลู หรือทำเป็นยาอม และยาที่ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ล้วนมีกานพลูเป็นส่วนผสม
ประโยชน์ของกานพลู
1. ดอกกานพลูมีส่วนช่วยในการขับเสมหะ แก้อาการไอ เนื่องจากกานพลูมีสารยูจินอลที่ช่วยลดอาการปวดฟันได้ จึงนิยมนำมา ทำยาช่วยลดอาการปวดฟันมากที่สุด โดยนำดอกกานพลู มาเคี้ยวและอมไว้ตรงบริเวณที่ปวด หรือนำมาตำให้แหลก แล้ว ใช้ ไม้ จิ้มแล้ว กดไปตรงฟันที่ปวดก็ได้ ก็จะช่วยลดอาการปวดได้ดีเช่นกัน อีกประการคือช่วยลดกลิ่นปาก เลยนำดอกกานพลู 2 ดอกมาอมไว้ที่ปากก็จะช่วยลดกลิ่นปากได้ และดับกลิ่นเหล้าได้ด้วย
2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีสารยูจีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชา จึงช่วยลดอาการอักเสบ และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปาก ช่วยลดกลิ่นปาก และทำให้เกิดอาการชา ทำให้อาการไอ การระคายเคืองที่ลำคอหายไป
3. มีสรรพคุณในการขับลม ขับน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการปวดเกร็ง ลดอาการปวดลำไส้
4. ช่วยกระตุ้นการหลั่งเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดการก่อตัวของลิ่มเลือด และลดกรดในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง
![]() |
กานพลู 20 กรัม ตราสุทัศน์พานิช |
ข้อควรระวังของการรับประทานกานพลู
1. ห้ามใช้กานพลูกับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคตับ โรตไต หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
2. ชาสมุนไพรนี้มีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 แก้ว หากดื่มมากเกินไป จะทำให้ร่างกายร้อนเกินไป (แต่จะมีประโยชน์ในการดื่มช่วงตอนบ่าย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัว โดยไม่ต้องกินกาแฟ Afternoon tea) อีกทั้งผู้ที่มีเลือดออกตามไรฟัน หรือมีบาดแผล หากรับประทานบ่อยและมากเกินไป เลือดแข็งตัวได้ยาก เลือดอาจจะเกาะตัวกันช้า ทำให้เลือดหยุดไหลได้ช้าลง
3. นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด และยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาที่มีผลทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ก็ยังไม่ควรรับประทานด้วย เพราะกานพลูมีสรรพคุณ ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง (คล้ายแอสไพริน ปัจจุบันผู้ป่วยที่เลือดข้นก็จะใช้ยาแอสไพริน หรือผู้ที่มีเลือดคลั่งในสมองหรือในหัวใจ ผู้มีอัมพฤกษ์อัมพาต ก็จะทำให้เลือดที่เกาะตัวในสมอง ถูกสลายออกมา) ผู้ป่วยดังกล่าวจึงไม่ควรรับประทาน และควรระมัดระวังในการใช้กานพลู
วิธีต้มชากานพลู
1. เทน้ำลงในหม้อ 2 ถ้วยตวง (500 ml) ต้มน้ำให้เดือด ใส่ดอกกานพลู 7- 8 ดอก ต้มนาน 5 นาที
2. พักไว้ให้เย็นลง โดยปิดฝาไว้ 10 นาที เพื่อให้สารต่าง ๆ ถูกสกัดออกมา กรองตะแกรง ดื่มขณะอุ่น ๆ
รสชาติกานพลู
ชากานพลู จะไม่หวาน (หากต้องการความหวานนิด ๆ สามารถเติมน้ำผึ้งได้) น้ำต้มดอกกานพลูจะสีเหลืองใส ๆ หอมกรุ่น รับประทานง่าย กลิ่นหอม รสชาติเหมือนเมนทอลนิด ๆ อร่อยลงตัวมาก สามารถเติมน้ำผึ้งนิดนึง 1 ช้อนชาไม่ควรเติมมาก ก็จะหอมน้ำผึ้งเพิ่มขึ้นด้วย ช่วยให้สมองหลับสบาย ลดความเครียด ผ่อนคลาย เพื่อสุขภาพที่ดี แก้ไอแก้หวัด อร่อยได้ประโยชน์ ลองนำไปทำดูนะคะ
|
ง่วนสูน กานพลู 50 g ซอง Clove |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น